ตามที่มาตรา ๘๕ (๒) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำ เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างพอเพียงและเหมาะสมแก่การเกษตร ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน ที่ผ่านมากรมชลประทาน ได้ดำเนินการโดยอาศัยกลไกตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวงพุทธศักราช ๒๔๘๕ จัดทำระบบชลประทาน เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างพอเพียงและเหมาะสมแก่การเกษตร และหลังจากที่มีการก่อสร้างระบบชลประทานแล้วเสร็จก็จะอาศัยกลไกตามพระราชบัญญัติคันและคูน้ำ พ.ศ. ๒๕๐๕ เพื่อจัดทำคันและคูน้ำ สำหรับส่งน้ำจากระบบชลประทานไปใช้ในการเพาะปลูก เพื่อให้การส่งน้ำไปยังไร่นาสามารถดำเนินการได้อย่างทั่วถึงรวมทั้งได้อาศัยกลไกตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๗ เข้าไปดำเนินการพัฒนาที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรมให้สมบูรณ์ทั่วถึงที่ดินทุกแปลงเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต โดยการรวบรวมที่ดินหลายแปลงในบริเวณเดียวกันเพื่อวางผังจัดรูปที่ดินใหม่และจัดทำระบบชลประทานและการระบายน้ำ การจัดสร้างถนนหรือลำเลียงในไร่นา อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการที่ผ่านมาปรากฏว่า กลไกในการจัดทำคันและคูน้ำ ตามพระราชบัญญัติคันและคูน้ำ พ.ศ. ๒๕๐๕ มีปัญหาอุปสรรคและไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน เนื่องจากไม่สามารถบังคับให้เจ้าของที่ดินในท้องที่ที่ได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติคันและคูน้ำดำเนินการจัดทำคันและคูน้ำตามที่กำหนดไว้ได้ เนื่องจากเข้าลักษณะของการเกณฑ์แรงงานและเป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งไม่สอดคล้องกับมาตรา ๓๘ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงเป็นหน้าที่ของกรมชลประทานที่จะต้องจัดหางบประมาณและดำเนินการจัดทำคันและคูน้ำแทนเจ้าของที่ดินดังกล่าว ส่วนการดำเนินการพัฒนาที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๗ ที่ต้องการเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการผลิตโดยการจัดรูปที่ดินก็มีปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ เนื่องจากจะต้องให้เจ้าของที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินเกินกึ่งหนึ่งยินยอมให้มีการจัดรูปที่ดิน จึงจะสามารถดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินได้ อันส่งผลให้การพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การจัดทำคันและคูน้ำรวมทั้งการจัดทำระบบชลประทานและการระบายน้ำเข้าสู่แปลงที่ดินไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และโดยที่กฎหมายว่าด้วยคันและคูน้ำและกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมใช้บังคับมาเป็นเวลานาน และมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ดังที่กล่าวมาข้างต้น ประกอบกับการจัดทำคันและคูน้ำเป็นภารกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมชลประทาน จึงเห็นควรจัดให้มีการศึกษาแนวทางในการรวมกฎหมายว่าด้วยคันและคูน้ำและกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน รวมทั้งปรับปรุงบทบัญญัติในกฎหมายทั้งสองฉบับให้มีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ....
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กรุณากรอกข้อมูลพื้นฐานเพื่อประโยชน์และจัดทำรายงานสำหรับการรับฟังความคิดเห็น |
บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. .... หลักการ ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เหตุผล โดยที่พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและบริหารจัดการน้ำในระดับไร่นาที่เชื่อมโยงกับระบบชลประทาน เพื่อให้ที่ดินทุกแปลงได้รับประโยชน์จากโครงการชลประทานและการสาธารณูปโภคอย่างทั่วถึง แต่ด้วยกระบวนการในการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายปัจจุบันไม่สามารถที่จะขยายเขตโครงการจัดรูปที่ดินได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการของเกษตรกร สมควรปรับปรุงกระบวนการในการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเสียใหม่ โดยลดขั้นตอนการดำเนินการตามกฎหมายซึ่งเป็นอุปสรรคแก่การจัดรูปที่ดิน และกำหนดมาตรการส่งเสริมให้ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้ภาครัฐสามารถขยายเขตการจัดรูปที่ดินให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น พระราชบัญญัติคันและคูน้ำ พ.ศ.๒๕๐๕ ซึ่งเป็นกฎหมายแพร่กระจายน้ำจากระบบชลประทานไปใช้ในการเพาะปลูก ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน มีรูปแบบใกล้เคียงกับการจัดรูปที่ดิน แต่มีบทบัญญัติจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่ไม่เหมาะสมแก่กาลสมัย ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกและการประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรยกเลิกพระราชบัญญัติคันและคูน้ำ พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยปรับปรุงกระบวนการในการจัดทำคันและคูน้ำเสียใหม่ ให้เป็นการดำเนินการในรูปแบบการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม และเป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อจะบูรณาการให้เป็นกฎหมายที่รัฐสามารถนำไปพัฒนาโครงสร้างภาคการเกษตรให้สมบูรณ์ สามารถวางแผนการแพร่กระจายน้ำในระดับไร่นาและการสาธารณูปโภคให้ทั่วถึงทุกพื้นที่เกษตรกรรม สอดรับกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็ง เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศ ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมมีความมั่นคงยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ประกอบด้วย ๗๖ มาตรา แบ่งออกได้ ดังนี้ บททั่วไป (มาตรา ๑ ถึง มาตรา ๕) หมวด ๑ คณะกรรมการจัดรูปที่ดิน (มาตรา ๖ ถึง มาตรา ๑๓) หมวด ๒ สำนักงานจัดรูปที่ดิน (มาตรา ๑๔ ถึง มาตรา ๑๗) หมวด ๓ การจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม (มาตรา ๑๘ ถึง มาตรา ๓๐) หมวด ๔ การจัดรูปที่ดิน (มาตรา ๓๑ ถึง มาตรา ๕๙) หมวด ๕ กองทุนจัดรูปที่ดิน (มาตรา ๖๐ ถึง มาตรา ๖๑) หมวด ๖ บทกำหนดโทษ (มาตรา ๖๒ ถึง มาตรา ๖๘) และ บทเฉพาะกาล (มาตรา ๖๙ ถึง มาตรา ๗๖)
- ร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ....
- ร่าง
พระราชบัญญัติ
จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
พ.ศ. ....
..........................................
..........................................
..........................................
............................................................................................................................
..........................................
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ
ของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ และ
มาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตาม
บทบัญญัติแห่งกฎหมาย
............................................................................................................................
..........................................
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ....”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่
วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติคันและคูน้ำ พ.ศ. ๒๕๐๕
(๒) พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๗
(๓) พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“การจัดรูปที่ดิน” หมายความว่า การดำเนินงานพัฒนาที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม
ให้สมบูรณ์ทั่วถึงที่ดินทุกแปลง เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต โดยทำการรวบรวมที่ดิน
หลายแปลงในบริเวณเดียวกันเพื่อวางผังจัดรูปที่ดินเสียใหม่ การจัดระบบชลประทาน การจัดสร้างถนนหรือทางลำเลียงในไร่นา การปรับระดับพื้นที่ดิน การบำรุงดิน การวางแผนการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลการเกษตร รวมตลอดถึงการแลกเปลี่ยน การโอน การรับโอนสิทธิในที่ดิน การให้เช่าซื้อที่ดิน และการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
“การจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม” หมายความว่า การจัดระบบชลประทาน
จากทางน้ำชลประทานหรือแหล่งน้ำอื่นใดไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การทำเกษตรกรรม
ได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งการจัดสร้างถนนหรือทางลำเลียงในไร่นา
“เกษตรกรรม” หมายความว่า การเพาะปลูกและเกษตรกรรมอื่นตามหลักเกณฑ์
ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด
“เขตการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม” หมายความว่า เขตที่ดินที่มีประกาศกำหนด
ให้เป็นเขตการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม”
“เขตโครงการจัดรูปที่ดิน” หมายความว่า เขตที่ดินที่มีประกาศกำหนดให้เป็น
เขตโครงการจัดรูปที่ดิน
“ระบบชลประทาน” หมายความว่า คัน คูน้ำ ทางระบายน้ำ ประตูน้ำ รวมทั้งสิ่งก่อสร้างหรืออุปกรณ์อื่นใดที่จัดทำขึ้นเพื่อกัก เก็บ รักษา ควบคุม ส่ง ระบายหรือจัดสรรน้ำ
ในเขตการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมหรือเขตโครงการจัดรูปที่ดิน
“ผู้บริหารท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี หรือผู้บริหารท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น แต่ไม่รวมถึงนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
“เจ้าของที่ดิน” หมายความว่า ผู้มีสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ
ตามพระราชบัญญัตินี้
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมชลประทาน
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
กับออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจ
และหน้าที่ของตน
กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
คณะกรรมการจัดรูปที่ดิน
มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า“คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง” ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง อธิบดีกรมการข้าว อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมบัญชีกลาง
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร อัยการสูงสุด ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งจำนวนไม่เกินเจ็ดคน เป็นกรรมการ
ให้หัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดินกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านการเกษตร การชลประทาน หรือการบริหารจัดการ
มาตรา ๗ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดินตามมาตรา ๓๒ ใช้บังคับในบริเวณใดในจังหวัดใดแล้ว ให้มีคณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดขึ้นคณะหนึ่งในจังหวัดนั้น เรียกว่า “คณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัด” ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ ปลัดจังหวัดเป็นรองประธานกรรมการ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด เกษตรจังหวัด พัฒนาการจังหวัด พาณิชย์จังหวัด โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด สหกรณ์จังหวัด ผู้แทนกรมการข้าว ผู้แทนกรมชลประทาน ผู้แทนกรมพัฒนาที่ดิน ผู้แทนกรมทางหลวง อัยการจังหวัด ผู้แทนธนาคาร
เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นายอำเภอในท้องที่เขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ผู้บริหารท้องถิ่นทุกแห่งที่พื้นที่เขตสำรวจการจัดรูปที่ดินอยู่ในเขตการปกครอง ซึ่งเลือกกันเองไม่เกินห้าคน เว้นแต่ เขตสำรวจการจัดรูปที่ดินใดมีผู้บริหารท้องถิ่นไม่เกินห้าคนให้ทุกคนเป็นกรรมการ และประธาน สภาเกษตรกรจังหวัด เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่เกินห้าคนซึ่งผู้ว่าราชการ
จังหวัดแต่งตั้งจากเจ้าของที่ดินในเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน
ให้หัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ
ในกรณีที่เขตสำรวจการจัดรูปที่ดินครอบคลุมที่ดินสองจังหวัดขึ้นไปรวมอยู่ในเขตโครงการเดียวกัน คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางอาจกำหนดให้คณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัด
แห่งหนึ่ง ทำหน้าที่ครอบคลุมทั้งโครงการก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด นายอำเภอ ในจังหวัดอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการด้วย สำหรับผู้บริหารท้องถิ่นให้ดำเนินการเลือกกันเองระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งที่อยู่ในเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน
การเลือกผู้บริหารท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
มาตรา ๘ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๖ หรือมาตรา ๗ มีวาระอยู่ใน
ตำแหน่งคราวละสี่ปี
ในกรณีที่กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือในกรณีที่มี
การแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ซึ่ง
ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่
ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
เมื่อครบวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการ
ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้ง
กรรมการใหม่
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้
มาตรา ๙ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๘ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๖ หรือมาตรา ๗ พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้ว่าราชการจังหวัดให้ออก
เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ สำหรับกรรมการ
ซึ่งตนแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด
ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๑๐ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า
กึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุม หรือไม่สามารถ
ปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการคนที่หนึ่งหรือคนที่สองตามลำดับเป็นประธานในที่ประชุม
ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่ง
ในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็น
เสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๑ คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาแผนแม่บทการจัดรูปที่ดินต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ
(๒) กำหนดนโยบายและพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานและงบประมาณของโครงการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมและโครงการจัดรูปที่ดินในท้องที่ต่าง ๆ
(๓) พิจารณาเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อออกประกาศกำหนดแนวเขตสำรวจการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม
(๔) พิจารณาเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการตรา
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน
(๕) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินราคาที่ดินและทรัพย์สินอื่นในที่ดิน
ในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน
(๖) ให้ความเห็นชอบในการกำหนดที่ดินตอนใดเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติ
ของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือที่ดินที่ได้สงวนหรือหวงห้ามไว้ตามความต้องการของทางราชการตามมาตรา ๓๔
(๗) วินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับปัญหาการจัดรูปที่ดินตามคำร้องหรือคำอุทธรณ์ของ
เจ้าของที่ดิน หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามมาตรา ๔๒ และมาตรา ๔๘
(๘) วางระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงิน การเบิกจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงินของกองทุนจัดรูปที่ดิน
(๙) วางระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน และกิจการที่เกี่ยวกับ
การจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมและการจัดรูปที่ดินของสำนักงานจัดรูปที่ดินกลางหรือสำนักงาน
จัดรูปที่ดินจังหวัด
(๑๐) กำหนดแนวทางในการส่งเสริมและช่วยเหลือการทำเกษตรกรรมในเขต
โครงการจัดรูปที่ดิน
(๑๑) ดำเนินกิจการอื่นที่เกี่ยวกับการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมและการจัดรูป
ที่ดินเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๒ คณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีการสำรวจบริเวณที่ดินที่เห็นสมควรจะกำหนดเป็นเขตโครงการจัดรูป
ที่ดิน
(๒) ประเมินราคาที่ดินและทรัพย์สินอื่นในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางกำหนด
(๓) พิจารณาให้ความเห็นชอบการวางแผนผังการจัดแปลงที่ดิน ระบบชลประทาน
การสร้างถนนหรือทางลำเลียงในไร่นา การปรับระดับพื้นที่ดิน การแลกเปลี่ยนที่ดิน และการอื่น ๆ
ที่เกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน
(๔) สอบสวนและวินิจฉัยคำร้องตามมาตรา ๔๒ หรือดำเนินการประนีประนอม
ตามมาตรา ๔๓
(๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการเงินและการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินตามระเบียบหรือข้อบังคับ หรือมติของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง หรือตามที่คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางมอบหมาย
(๖) วางระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเปิดหรือปิดประตูกักน้ำ หรือสิ่งอื่นที่ใช้
ในการบังคับน้ำเข้าสู่ที่ดินของเจ้าของที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน
(๗) ดำเนินกิจการอื่นที่เกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ของการจัดรูปที่ดิน
การออกระเบียบหรือข้อบังคับตาม (๖) ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๒๕
มาตรา ๑๓ คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางหรือคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัด
มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาหรือวิจัย หรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดแทน
หรือตามที่คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางหรือคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดมอบหมายก็ได้
การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๒
สำนักงานจัดรูปที่ดิน
มาตรา ๑๔ ให้สำนักงานจัดรูปที่ดินกลางมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม การจัดรูปที่ดิน รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง ควบคุมสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำแผนแม่บทการจัดรูปที่ดิน
(๒) จัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณของโครงการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมและโครงการจัดรูปที่ดิน
(๓) จัดทำแผนผังการจัดแปลงที่ดิน ระบบชลประทาน การสร้างถนนหรือ
ทางลำเลียงในไร่นา การปรับระดับพื้นที่ดิน และการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินในเขตโครงการ
จัดรูปที่ดิน
(๔) ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและ ช่วยเหลือการทำเกษตรกรรม
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวกับการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมและการจัดรูปที่ดินตามที่คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางกำหนด
มาตรา ๑๕ สำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการ
จัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม การจัดรูปที่ดินภายในเขตจังหวัด และรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัด
ในกรณีที่เขตการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมหรือเขตโครงการจัดรูปที่ดินมีพื้นที่
ครอบคลุมที่ดินสองจังหวัดขึ้นไปรวมอยู่ในเขตโครงการเดียวกัน อธิบดีจะมอบหมายให้สำนักงาน
จัดรูปที่ดินจังหวัดใดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมหรือจัดรูปที่ดินตลอดเขตโครงการนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีสำนักงานจัดรูปที่ดินในจังหวัดที่เกี่ยวข้องนั้นหรือไม่
มาตรา ๑๖ บรรดาที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นที่ได้มาโดยประการใด ๆ ตาม
พระราชบัญญัตินี้ หรือได้มาโดยการเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ไม่ถือว่า
เป็นที่ราชพัสดุ และให้กรมชลประทานเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดระบบน้ำ
เพื่อเกษตรกรรมหรือการจัดรูปที่ดินโดยเฉพาะ
ที่ดินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง กรมชลประทานมีอำนาจดำเนินการให้เช่า
ให้เช่าซื้อ หรือโอนไปยังเอกชนเพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรมได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ที่กำหนดในกฎกระทรวง
กิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิ
อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในเขตการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมหรือเขตโครงการจัดรูปที่ดิน
ให้กรมชลประทานได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนนั้น
มาตรา ๑๗ ให้สำนักงานจัดรูปที่ดินกลางจัดทำแผนแม่บทการจัดรูปที่ดิน ประกอบด้วย แผนการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม และแผนการจัดรูปที่ดิน โดยแสดงภาพรวม
การพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมและการจัดรูปที่ดิน ระยะเวลาในการดำเนินการตามแผน รวมทั้งกำหนดหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามแผน แนวทางการประสาน
ความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบชลประทาน การบริหารและพัฒนาที่ดิน และ
การอื่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการทำเกษตรกรรม
ในการดำเนินการจัดทำแผนแม่บทการจัดรูปที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานจัดรูปที่ดินกลางประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนร่วมกัน
ให้สำนักงานจัดรูปที่ดินกลางเสนอแผนแม่บทการจัดรูปที่ดินต่อคณะกรรมการจัดรูป
ที่ดินกลางเพื่อพิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ
ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนแม่บทการจัดรูปที่ดิน ให้สำนักงานจัดรูป
ที่ดินกลางประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไป
ตามแผนนั้น
หมวด ๓
การจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่สำนักงานจัดรูปที่ดินกลางหรือเจ้าของที่ดินในพื้นที่
ที่ทำเกษตรกรรมมีความประสงค์ให้มีการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่ใด ให้สำนักงานจัดรูป
ที่ดินกลางจัดทำโครงการเสนอต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง
การเสนอโครงการตามวรรคหนึ่ง ต้องแสดงแนวเขตพื้นที่ที่ประสงค์จะจัดทำระบบ
น้ำเพื่อเกษตรกรรม แหล่งน้ำที่จะใช้ในการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม จำนวนเจ้าของที่ดินที่ทำเกษตรกรรม ประเภทของการทำเกษตรกรรม ความเป็นไปได้และความคุ้มค่าในการดำเนินการ
และประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางกำหนด
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๙ ในกรณีที่คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้มี
การจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม และเป็นพื้นที่ที่ยังมิได้ประกาศเป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดิน ให้เสนอ
ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อออกประกาศกำหนดแนวเขตสำรวจการจัดระบบน้ำ
เพื่อเกษตรกรรมในเขตพื้นที่นั้น ประกาศดังกล่าวให้มีแผนที่สังเขปแสดงเขตท้องที่ที่จะสำรวจไว้ด้วย
มาตรา ๒๐ ภายในแนวเขตสำรวจการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมที่รัฐมนตรี
ประกาศกำหนดตามมาตรา ๑๙ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในที่ดินของบุคคลใดเพื่อทำการสำรวจพื้นที่ในการจัดทำระบบชลประทาน ถนนหรือทางลำเลียงในไร่นา หรือการอื่นที่จำเป็นแก่การจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม
(๒) ทำเครื่องหมายใด ๆ โดยปักหลัก ขุดร่องแนว หรือสร้างหมุดหลักฐานในที่ดิน
ของบุคคลใด เพื่อเป็นแนวเขตในการดำเนินการ
(๓) ขุดดิน ตัดรานกิ่งไม้ และกระทำการใด ๆ แก่สิ่งกีดขวางการสำรวจได้เท่าที่
จำเป็น
ในการเข้าไปในที่ดินของบุคคลใดเพื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่
ต้องแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้ทราบล่วงหน้าตามสมควร และต้องระมัดระวัง
ให้กระทบกระเทือนการใช้ประโยชน์ของเจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์น้อยที่สุด
มาตรา ๒๑ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการสำรวจและจัดทำแผนผังการจัด
ระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมเบื้องต้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการจัดให้มีการประชุมเจ้าของที่ดิน
ที่ทำเกษตรกรรมภายในแนวเขตสำรวจการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม เพื่อคัดเลือกกันเองเป็นคณะกรรมการชุมชนในการทำหน้าที่เป็นผู้แทนของเจ้าของที่ดินในเขตพื้นที่นั้น
วิธีการคัดเลือกและจำนวนกรรมการในคณะกรรมการชุมชน ให้เป็นไปตาม
ความตกลงกันเองของเจ้าของที่ดินที่มาประชุม
ให้ผู้บริหารท้องถิ่นทุกแห่งที่พื้นที่เขตสำรวจการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมอยู่ใน
เขตการปกครองเป็นกรรมการโดยตำแหน่งในคณะกรรมการชุมชน
มาตรา ๒๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ร่วมกับคณะกรรมการชุมชนพิจารณาการจัดทำระบบชลประทาน ถนนหรือทางลำเลียงในไร่นา หรือการอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการจัดสรรน้ำ
อย่างทั่วถึงและพอเพียงสำหรับพื้นที่ที่ทำเกษตรกรรม โดยต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน
ในการจัดทำระบบชลประทาน ถนนหรือทางลำเลียงในไร่นา รวมทั้งการอื่นใดในการจัดระบบน้ำ
เพื่อเกษตรกรรมผ่านที่ดินของตน เพื่อเสนอต่อสำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง
การจัดทำระบบชลประทาน ต้องคำนึงถึงการจัดสรรน้ำให้แก่เจ้าของที่ดิน
ซึ่งประสงค์จะใช้น้ำเพื่อทำเกษตรกรรม การอำนวยความสะดวกในการขนส่งผลิตผลการเกษตร
โดยให้พิจารณาจัดทำไปตามแนวเขตของพื้นที่เดิมให้ได้มากที่สุด และมิให้เจ้าของที่ดินรายใดต้องรับภาระเกินสมควรแก่เหตุ
มาตรา ๒๓ เมื่อสำนักงานจัดรูปที่ดินกลางได้พิจารณาเห็นชอบกับแผนผัง
การจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่ใดแล้ว ให้เสนอต่ออธิบดีเพื่อประกาศเขตการจัดระบบน้ำ
เพื่อเกษตรกรรม โดยประกาศดังกล่าวต้องแสดงแผนผังการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมและแผนผัง
ที่ดินที่อยู่ภายในแนวเขตไว้ด้วย และให้ปิดประกาศไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ
ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบริเวณชุมชนในเขตการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม
มาตรา ๒๔ เมื่อได้มีประกาศเขตการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมตามมาตรา ๒๓
แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในที่ดินหรือ
ใช้ประโยชน์ในที่ดินในแนวเขตตามประกาศนั้น เพื่อจัดสร้างระบบชลประทาน ถนนหรือทางลำเลียง
ในไร่นา และการอื่นที่จำเป็นแก่การจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม
ในการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง หากมีกรณีจำเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเปลี่ยนแปลงแผนผังดังกล่าวได้ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่หรือเพื่อประโยชน์
ในการก่อสร้างได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าสำนักงานจัดรูปที่ดินกลางแล้ว โดยการเปลี่ยนแปลงแผนผังต้องดำเนินการให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินน้อยที่สุด
การเข้าไปในที่ดินหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๒๐ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๕ การบริหารจัดการน้ำเพื่อเกษตรกรรม และการดูแลบำรุงรักษา
สิ่งที่จัดสร้างขึ้นในเขตการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประกาศตามวรรคหนึ่งให้กำหนดพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการ รวมทั้งการมอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคสอง
มีอำนาจเข้าไปในที่ดินหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินที่อยู่ในเขตการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมเพื่อ
ประโยชน์ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้
การเข้าไปในที่ดินหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินตามวรรคสาม ให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๒๐ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๖ การชำระค่าใช้จ่ายในการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม การซ่อมแซม
และบำรุงรักษา การใช้น้ำเพื่อประโยชน์ในลักษณะการประกอบธุรกิจการเกษตร หรือการใช้น้ำ
มากเกินควร ของเจ้าของที่ดินในเขตการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
บรรดาค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและบำรุงรักษา ถ้ามีจำนวนสูงเกินกว่าที่เจ้าของ
ที่ดินจะรับภาระได้ และเป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ เมื่อได้รับการร้องขอจากเจ้าของที่ดิน กรมชลประทานหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจสนับสนุนทางการเงินหรือเข้าดำเนินการ
แทนได้ตามที่เห็นสมควร
ในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการจัดรูป
ที่ดินกลางอาจพิจารณาลด ยกเว้น รวมทั้งกำหนดระยะเวลา หรือขยายระยะเวลาการชำระเงินได้
ตามที่เห็นสมควร
มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดทำทางระบายน้ำมาเชื่อมต่อกับระบบชลประทาน หรือกระทำการใด ๆ เพื่อส่ง กัก หรือระบายน้ำจากระบบชลประทาน เว้นแต่จะดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา ๒๕ หรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๒๘ ห้ามมิให้ผู้ใดทำให้ระบบชลประทาน ถนนหรือทางลำเลียงในไร่นา
เกิดความเสียหายหรือไม่สะดวกแก่การใช้
มาตรา ๒๙ ห้ามมิให้ผู้ใดกักน้ำไว้ใช้เกินกว่าความจำเป็นแก่ที่ดินของตน หรือกระทำการอื่นใดอันเป็นการขัดขวางต่อการส่ง กัก หรือระบายน้ำ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นไม่สามารถได้รับน้ำ
จากระบบชลประทาน
มาตรา ๓๐ ในเขตการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม ห้ามมิให้ใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์
อย่างอื่นที่มิใช่เกษตรกรรม เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางหรือ
ผู้ซึ่งคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางมอบหมาย
หมวด ๔
การจัดรูปที่ดิน
มาตรา ๓๑ ในกรณีที่สำนักงานจัดรูปที่ดินกลางหรือเจ้าของที่ดินในพื้นที่ที่ทำเกษตรกรรมมีความประสงค์ให้มีการจัดรูปที่ดินในพื้นที่ที่ทำเกษตรกรรมหรือพื้นที่ในเขตการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม ให้สำนักงานจัดรูปที่ดินกลางจัดทำโครงการเสนอต่อคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง
การเสนอโครงการตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๘ วรรคสอง
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๓๒ ในกรณีที่คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางพิจารณาเห็นสมควรกำหนด
ให้พื้นที่ที่ทำเกษตรกรรมหรือพื้นที่ในเขตการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรมใดเป็นเขตโครงการจัดรูป
ที่ดินเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในพระราชกฤษฎีกาให้มีแผนที่สังเขปแสดงเขตท้องที่ที่จะสำรวจไว้ด้วย
พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับได้ห้าปี
มาตรา ๓๓ ในระหว่างใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๓๒ ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่าย ก่อให้เกิดภาระติดพัน หรือกระทำการใด ๆ อันอาจทำให้ราคาประเมินที่ดินในท้องที่ที่จะสำรวจการจัดรูปที่ดินสูงขึ้น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง
กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูป
ที่ดินกลางหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางมอบหมาย
ในกรณีที่มีการกระทำใด ๆ ที่ทำให้ราคาประเมินที่ดินในที่ดินนั้นสูงขึ้นโดยไม่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดจะไม่ประเมินราคาที่ดินที่สูงขึ้นนั้นรวมใน
ราคาประเมินที่ดินและทรัพย์สินในที่ดินนั้น ถ้าการที่จัดทำขึ้นนั้นเป็นทรัพย์สินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือกีดขวางการจัดรูปที่ดิน ให้คณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของที่ดินทำการรื้อถอนภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าเจ้าของที่ดินไม่ปฏิบัติตาม ให้คณะกรรมการ
จัดรูปที่ดินจังหวัดมีอำนาจดำเนินการรื้อถอนโดยเจ้าของที่ดินจะเรียกร้องค่าเสียหายมิได้ และต้องเป็น
ผู้เสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนนั้นด้วย
มาตรา ๓๔ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๓๒ แล้ว ถ้าคณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดเห็นสมควรให้นำที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินภายในเขตตามพระราชกฤษฎีกานั้นมาดำเนินการจัดรูปที่ดิน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ถ้าในเขตนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน หรือเป็นที่ดินที่พลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น หรือได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับ
พลเมืองใช้ร่วมกัน และมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใดรวมอยู่ด้วย ให้พระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๓๒
มีผลเป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดินดังกล่าว โดยมิต้องดำเนินการ
ถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน และให้กรมชลประทานมีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการจัดรูป
ที่ดินได้
(๒) ถ้าในเขตนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์
ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือที่ดินที่ได้สงวนหรือหวงห้ามไว้ตามความต้องการของทางราชการ
เมื่อกระทรวงการคลังได้ให้ความยินยอมแล้ว ให้พระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๓๒ มีผลเป็นการ
ถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดินดังกล่าว โดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพ
ตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ และให้กรมชลประทานมีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการจัดรูปที่ดินได้
(๓) ถ้าในเขตนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายที่ดิน และสภาพของที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินแปลงเล็กแปลงน้อยรวมอยู่ด้วย ให้กรมชลประทานมีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการจัดรูปที่ดินได้
ถ้าที่ดินที่ได้ถอนสภาพตาม (๑) และ (๒) เป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือ
ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือเป็นที่ดินที่ได้สงวนหรือหวงห้ามไว้ตามความต้องการ
ของทางราชการ ให้คณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดจัดให้ที
|