การจัดกลุ่มเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นการจัดกลุ่มตามระดับความรุนแรงของเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ โดยแต่ละกลุ่มก็จะมีหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลที่แตกต่างกัน ตามมาตรา ๒๒ ผู้ใดประสงค์จะผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย นำผ่าน หรือมีไว้ในครอบครองเชื้อโรคกลุ่มที่ ๓ ตามมาตรา ๑๘ (๓) หรือพิษจากสัตว์ กลุ่มที่ ๒ ตามมาตรา ๑๙ (๒) ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากอธิบดีและเมื่ออธิบดีออกใบอนุญาตให้แล้วจึงผลิต นำเข้า ส่งออก ขาย นำผ่าน หรือมีไว้ในครอบครองเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์นั้นได้

กฎกระทรวง การขอรับใบอนุญาต การอนุญาต อายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การขอแก้ไขรายการ การอนุญาตให้แก้ไขรายการ และการแจ้งย้ายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ในใบอนุญาต พ.ศ. ....
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กรุณากรอกข้อมูลพื้นฐานเพื่อประโยชน์และจัดทำรายงานสำหรับการรับฟังความคิดเห็น |
โดยที่พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘ กําหนดให้ผู้ที่ประสงค์ จะผลิต นําเข้า ส่งออก ขาย นําผ่าน หรือมีไว้ในครอบครองเชื้อโรค กลุ่มที่ ๓ และพิษจากสัตว์ กลุ่มที่ ๒ ต้องยื่นคําขอรับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดังนั้น สมควรกําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการดําเนินการดังกล่าว จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๖ หมวด รวม ๒๘ ข้อ หมวด ๑ เงื่อนไขและวิธีการขอรับใบอนุญาต แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน ส่วนที่ ๑ บททั่วไป (ข้อ ๔ - ๗) ส่วนที่ ๒ การผลิตเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ (ข้อ ๘ - ๙) ส่วนที่ ๓ การครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ (ข้อ ๑๐ - ๑๒) ส่วนที่ ๔ การขาย การนําเข้า หรือการส่งออกซึ่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ (ข้อ ๑๓ - ๑๕) ส่วนที่ ๕ การนำผ่านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ (ข้อ ๑๖ - ๑๘) หมวด ๒ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลในใบอนุญาต (ข้อ ๑๙ - ๒๐) หมวด ๓ เงื่อนไขที่ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติเมื่อเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์มีระดับความรุนแรงขึ้น (ข้อ ๒๑) หมวด ๔ การต่ออายุใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตผลิต ครอบครอง ขาย นําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านซึ่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ (ข้อ ๒๒ - ๒๔) หมวด ๕ สถานที่ยื่นคําขออนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต และคําขอรับใบแทน ใบอนุญาตผลิต ครอบครอง ขาย นําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านซึ่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ (ข้อ ๒๕) หมวด ๖ เงื่อนไขและวิธีการแจ้งเลิกการผลิต (ข้อ ๒๖) และบทเฉพาะกาล (ข้อ ๒๗ - ๒๘)
- ข้อ ๑
ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอ อนุญาตและการอนุญาตผลิต ครอบครอง ขาย นําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านซึ่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๒
- ข้อ ๒
เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่อาจได้รับอนุญาตให้ผลิต นําเข้า ส่งออก ขาย นําผ่านหรือมีไว้ครอบครองต้องเป็นเชื้อโรค กลุ่มที่ ๓ ตามมาตรา ๑๘ (๓) และพิษจากสัตว์ กลุ่มที่ ๒ ตามมาตรา ๑๙ (๒)
- ข้อ ๓
แบบคําขออนุญาตผลิต นําเข้า ส่งออก ขาย นําผ่าน หรือมีไว้ครอบครอง เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องยื่นพร้อมคําขออนุญาต ให้เป็นไปตามที่อธิบดี กําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
- ข้อ ๔
ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตผลิตนําเข้า ส่งออก ขาย นําผ่าน หรือมีไว้ ครอบครองซึ่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ให้ยื่นคําขออนุญาตต่ออธิบดีพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐาน ประกอบการขออนุญาต ทั้งนี้ ให้หมายรวมถึงการขออนุญาตทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย
- ข้อ ๕
เมื่อได้รับคําขออนุญาตแล้ว ให้อธิบดีตรวจสอบคําขออนุญาต พร้อมด้วย เอกสารหรือหลักฐานประกอบคําขอว่ามีความถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ในกรณีที่คําขออนุญาต เอกสารหรือหลักฐานไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้อธิบดีแจ้งผู้ยื่นคําขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคําขออนุญาต หรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่อธิบดีกําหนด
ในกรณีที่ผู้ยื่นคําขออนุญาตไม่แก้ไขเพิ่มเติมคําขออนุญาต หรือไม่จัดส่งเอกสาร หรือหลักฐานให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่อธิบดีกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ยื่นคําขอ อนุญาตทิ้งคําขออนุญาต และให้อธิบดีขายเรื่องออกจากสารบบ แล้วแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคําขอรับ ใบอนุญาตทราบ
- ข้อ ๖
ในกรณีที่อธิบดีตรวจสอบคําขออนุญาต เอกสารหรือหลักฐานแล้ว เห็นว่า มีความถูกต้องและครบถ้วน ให้อธิบดีมีคําสั่งรับคําขออนุญาตไว้พิจารณาและให้ออกใบรับแก่ผู้ยื่น คําขออนุญาต
- ข้อ ๗
เมื่อมีคําสั่งรับคําขออนุญาตตามข้อ ๖ แล้ว อธิบดีจะมีคําสั่งออกใบอนุญาต ได้ต่อเมื่อปรากฏว่าผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๓ และมีสถานที่ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต นําเข้า ส่งออก ขาย นําผ่าน หรือมีไว้ครอบครองซึ่งเชื้อโรคและพิษ จากสัตว์ ตามแต่กรณี โดยต้องแจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่มีคําสั่งรับคําขออนุญาตไว้พิจารณา
ในกรณีที่อธิบดีมีคําสั่งไม่ออกใบอนุญาต ให้แจ้งสิทธิอุทธรณ์ไว้ในหนังสือแจ้งผล การพิจารณาให้ผู้ขออนุญาตทราบด้วย
ในกรณีที่อธิบดีมีคําสั่งออกใบอนุญาต ให้ผู้ได้รับอนุญาตมารับใบอนุญาตภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งออกใบอนุญาต หากไม่มารับใบอนุญาตภายในกําหนดเวลา ดังกล่าวถือว่าสละสิทธิการเป็นผู้ได้รับอนุญาต และให้อธิบดีขายเรื่องออกจากสารบบ
ในการพิจารณาออกใบอนุญาต ให้นํากฎหมายว่าด้วยการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการมาบังคับใช้โดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้ยื่นคําขอต้องการใบอนุญาตเป็นภาษาอังกฤษ อธิบดีอาจออกใบอนุญาต เป็นภาษาอังกฤษตามที่เห็นสมควรก็ได
- ข้อ ๘
ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตผลิตเชื้อ ให้ยื่นคําขออนุญาตต่ออธิบดีพร้อมด้วย เอกสารหรือหลักฐานประกอบการขออนุญาต ดังต่อไปนี้ ตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด
(๑) แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ผลิตเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ หรือสถานที่เก็บ เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่ได้จากการผลิต และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
(๒) แบบแปลนแผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานที่ผลิตเชื้อโรคและพิษ จากสัตว์ หรือสถานที่เก็บเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่ได้จากการผลิต
(๓) อุปกรณ์และสถานที่ผลิตเชื้อโรคและพิษจากสัตว์หรือสถานที่เก็บเชื้อโรคและพิษ จากสัตว์ที่ได้จากการผลิต
- ข้อ ๙
ผู้รับใบอนุญาตผลิตเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ต้องจัดให้มี
(๑) สถานที่ผลิตเชื้อโรคและพิษจากสัตว์หรือสถานที่เก็บเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่ ได้จากการผลิต ซึ่งมีลักษณะตามที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๒) จัดให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์ ตามที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจา นุเบกษา
(๓) จัดให้มีบุคคลประจําสถานที่ผลิตเชื้อโรคและพิษจากสัตว์หรือสถานที่เก็บเชื้อโรค และพิษจากสัตว์ที่ได้จากการผลิต ดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ดําเนินการ ต้องเป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัตร ในสาขาหนึ่ง สาขาใดดังนี้ แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ วิทยาศาสตร์สาขาวิชาจุลชีววทิยา วิทยาศาสตร์สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคนิคการแพทย์ หรือ ได้รับปริญญาบัตรในสาขาวิชาอื่นๆ ที่มีการศึกษาด้านเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วย กิต ในกรณีที่เป็นผู้ดําเนินการเฉพาะควบคุมสารพิษจากเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับ เชื้อโรคโดยตรง อาจสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัตรด้านวิทยาศาสตร์สาขาเคมี หรือปริญญาบัตร ในสาขาอื่น ๆ ที่มีการศึกษาด้านเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต ก็ได้
(ข) ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ต้องเป็นผู้สําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรหรือ ปริญญาบัตร ในสาขาหนึ่งสาขาใดดังนี้ แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัช ศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ วิทยาศาสตร์สาขาวิชาจุลชีววิทยา วิทยาศาสตร์สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคนิคการแพทย์ หรือได้รับประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตรในสาขาวิชาอื่นๆ ที่มีการศึกษาด้าน เชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต ในกรณีที่เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการที่ต้องดําเนินงาน เฉพาะสารพิษจากเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคโดยตรง อาจสําเร็จการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตรด้านวิทยาศาสตร์สาขาเคมี หรือปริญญาบัตรในสาขาอื่นๆ ที่มี การศึกษาด้านเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต ก็ได้
บุคลากรที่ปฏิบัติงานประจําสถานที่ผลิตเชื้อโรคและพิษจากสัตว์หรือสถานที่เก็บเชื้อ โรคและพิษจากสัตว์ที่ได้จากการผลิต ต้องจัดให้มีในจํานวนที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และต้อง กําหนดให้มีตําแหน่งหรือความรับผิดชอบของบุคลากรเหล่านี้ด้วย
(๔) จัดทําบัญชีรายเดือนแสดงการผลิตเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ตามแบบที่อธิบดี กําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และเก็บบัญชีดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ผลิตเชื้อโรคและพิษจาก สัตว์เพื่อการตรวจสอบ
ให้ผู้รับใบอนุญาตดําเนินการตาม (๓) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกําหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
- ข้อ ๑๐
ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ให้ยื่นคําขอ อนุญาตต่ออธิบดีพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานประกอบการขออนุญาต ดังต่อไปนี้
(๑) แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ครอบครองหรือสถานที่เก็บเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
(๒) แบบแปลนแผนผังสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณสถานที่ครอบครองหรือสถานที่ เก็บเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่ถูกต้องตามมาตราส่วน โดยแสดงรายการ ดังต่อไปนี้
(ก) รูปด้านหน้า ด้านข้าง แปลนพื้น และรูปตัดของอาคารที่ใช้ในการ ครอบครองหรือเก็บเชื้อโรคและพิษจากสัตว์
(ข) การแบ่งกั้นห้อง เนื้อที่หรือบริเวณที่ใช้ในการเก็บเชื้อโรคและพิษจากสัตว์
(ค) ตําแหน่งที่เก็บเชื้อโรคและพิษจากสัตว์
- ข้อ ๑๑
ผู้ขออนุญาตครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ต้องจัดให้มีสถานที่ ครอบครองหรือสถานที่เก็บเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่ปลอดภัยจากการแพร่กระจายของเชื้อโรค หรือพิษจากสัตว์โดยมีเครื่องควบคุมอุณหภูมิให้สม่ําเสมอไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส
- ข้อ ๑๒
ผู้รับใบอนุญาตครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีสถานที่ครอบครองหรือสถานที่เก็บเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ตามที่กําหนด ในข้อ ๑๑ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับใบอนุญาต
(๒) จัดให้มีบุคคลผู้ทําหน้าที่ควบคุมการครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ซึ่งมีคุณวุฒิ ดังต่อไปนี้ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับใบอนุญาต
(ก) ได้รับปริญญาในสาขาหนึ่งสาขาใดดังต่อไปนี้ คือ แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ วิทยาศาสตร์สาขาวิชาจุลชีววิทยา หรือสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ หรือ
(ข) ได้รับปริญญาในสาขาอื่น ๆ นอกจาก (ก) ที่มีการศึกษาด้านจุลชีววิทยา ไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต
(๓) จัดให้มีการเก็บเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ที่ครอบครองในหลอดหรือขวดที่ทําด้วย แก้วพลาสติก หรือโลหะ ปากหลอดเชื่อมปิดสนิทหรือมีฝาปิดสนิท ด้านนอกของหลอดหรือขวดให้ปิด ฉลากแสดงชื่อ และชื่อทางวิทยาศาสตร์ของเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ที่ใช้ในภาษาอังกฤษ พันหลอด หรือขวดด้วยกระดาษที่ดูดซึมนํ้าได้โดยรอบก่อนนํามาบรรจุในภาชนะชั้นที่สองซึ่งต้องมีความคงทน ไม่แตกง่ายและกันน้ําซึมผ่านได้
(๔) จัดทําบัญชีรายเดือนแสดงการครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ตามแบบ ที่อธิบดีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และเก็บบัญชีดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ครอบครองเชื้อ โรคและพิษจากสัตว์เพื่อการตรวจสอบ
ให้ผู้รับใบอนุญาตดําเนินการตาม (๒) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกําหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
- ข้อ ๑๓
ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตขาย นําเข้า หรือส่งออกซึ่งเชื้อโรคและพิษจาก สัตว์ให้ยื่นคําขออนุญาตต่ออธิบดีพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานประกอบการขออนุญาตตามที่ระบุไว้ ในแบบคําขออนุญาต
- ข้อ ๑๔
ผู้ขออนุญาตขาย นําเข้า หรือส่งออกซึ่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ต้องจัดให้มี สถานที่ครอบครองหรือสถานที่เก็บเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่ขาย นําเข้า หรือส่งออก ที่ปลอดภัยจาก การแพร่กระจายของเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ โดยมีเครื่องควบคุมอุณหภูมิให้สม่ําเสมอไม่เกิน ๕ องศา เซลเซียส
- ข้อ ๑๕
ผู้รับใบอนุญาตขาย นําเข้า หรือส่งออกซึ่งเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีสถานที่ครอบครองหรือสถานที่เก็บเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่ขาย นําเข้า หรือส่งออก ตามที่กําหนดในข้อ ๑๔ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับใบอนุญาต
(๒) จัดให้มีบุคคลผู้ทําหน้าที่ควบคุมการขาย นําเข้า หรือส่งออกซึ่งเชื้อโรคหรือ พิษจากสัตว์ซึ่งมีคุณวุฒิดังต่อไปนี้ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับใบอนุญาต
(ก) ได้รับปริญญาในสาขาหนึ่งสาขาใดดังต่อไปนี้ คือ แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ วิทยาศาสตร์สาขาวิชาจุลชีววิทยา หรือสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ หรือ
(ข) ได้รับปริญญาในสาขาอื่น ๆ นอกจาก (ก) ที่มีการศึกษาด้านจุลชีววิทยา ไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต
(๓) จัดให้มีการเก็บเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ที่ขาย นําเข้า หรือส่งออก ดังต่อไปนี้
(ก) เก็บในหลอดหรือขวดที่ทําด้วยแก้ว พลาสติก หรือโลหะ ปากหลอดเชื่อม ปิดสนิทหรือมีฝาปิดสนิท ด้านนอกของหลอดหรือขวดให้ปิดฉลากแสดงชื่อ และชื่อทางวิทยาศาสตร์ ของเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ที่ใช้ในภาษาอังกฤษ พันหลอดหรือขวดด้วยกระดาษที่ดูดซึมน้ําได้ โดยรอบก่อนนํามาบรรจุในภาชนะชั้นที่สอง
(ข) ภาชนะชั้นที่สองต้องมีความคงทนไม่แตกง่ายและกันน้ําซึมผ่านได้ ถ้าภาชนะชั้นแรกมีปริมาตรรวมกันเกิน ๕๐ มิลลิลิตร ต้องใส่วัสดุกันแตกระหว่างภาชนะชั้นที่สองและ ชั้นนอกสุดโดยรอบ ในกรณีที่ต้องการรักษาคุณภาพของเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์บางชนิดให้เก็บ ในสภาวะที่มีอุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส
(ค) ภาชนะชั้นนอกสุดเป็นหีบห่อบรรจุทําด้วยกระดาษแข็ง ไม้ หรือวัสดุอื่นที่ มีความคงทนต่อการกระทบกระเทือน ด้านนอกติดฉลากแสดงชื่อ และชื่อทางวิทยาศาสตร์ของเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ที่ใช้ในภาษาอังกฤษ ปริมาณที่บรรจุ วัน เดือน ปีที่ผลิต สถานที่ผลิต คําว่า “เชื้ออันตราย” หรือ “สารอันตราย” และชื่อและที่อยู่ของผู้ที่จะติดต่อได้ในกรณีที่ภาชนะบรรจุนั้น แตกหรือเสียหายในระหว่างการขนส่ง
(๔) จัดทําบัญชีรายเดือนแสดงการขาย การนําเข้า หรือการส่งออก ซึ่งเชื้อโรคและ พิษจากสัตว์ตามแบบที่อธิบดีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และเก็บบัญชีดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ครอบครองหรือสถานที่เก็บเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่ขาย นําเข้า หรือส่งออกเพื่อการ ตรวจสอบ
ให้ผู้รับใบอนุญาตดําเนินการตาม (๒) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกําหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
- ข้อ ๑๖
ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตนําผ่านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ให้ยื่นคําขอ อนุญาตต่ออธิบดีพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานประกอบการขออนุญาตตามที่ระบุไว้ในแบบคําขอ อนุญาต
- ข้อ ๑๗
ผู้ขออนุญาตนําผ่านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ต้องจัดให้มีสถานที่ครอบครอง หรือสถานที่เก็บเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่นําผ่านที่ปลอดภัยจากการแพร่กระจายของเชื้อโรคหรือ พิษจากสัตว์โดยมีเครื่องควบคุมอุณหภูมิให้สม่ําเสมอไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส
- ข้อ ๑๘
ผู้รับใบอนุญาตนําผ่านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีสถานที่ครอบครองหรือสถานที่เก็บเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่นําผ่าน ตามที่กําหนดในข้อ ๑๗ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับใบอนุญาต
(๒) จัดให้มีบุคคลผู้ทําหน้าที่ควบคุมการนําผ่านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ซึ่งมีคุณวุฒิ ดังต่อไปนี้ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับใบอนุญาต
(ก) ได้รับปริญญาในสาขาหนึ่งสาขาใดดังต่อไปนี้ คือ แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ วิทยาศาสตร์สาขาวิชาจุลชีววิทยา หรือสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ หรือ
(ข) ได้รับปริญญาในสาขาอื่น ๆ นอกจาก (ก) ที่มีการศึกษาด้านจุลชีววิทยา ไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต
(๓) จัดให้มีการเก็บเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ที่นําผ่าน ดังต่อไปนี้
(ก) เก็บในหลอดหรือขวดที่ทําด้วยแก้ว พลาสติก หรือโลหะ ปากหลอดเชื่อม ปิดสนิทหรือมีฝาปิดสนิท ด้านนอกของหลอดหรือขวดให้ปิดฉลากแสดงชื่อ และชื่อทางวิทยาศาสตร์ ของเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ที่ใช้ในภาษาอังกฤษ พันหลอดหรือขวดด้วยกระดาษที่ดูดซึมน้ําได้ โดยรอบก่อนนํามาบรรจุในภาชนะชั้นที่สอง
(ข) ภาชนะชั้นที่สองต้องมีความคงทนไม่แตกง่ายและกันน้ําซึมผ่านได้ ถ้าภาชนะชั้นแรกมีปริมาตรรวมกันเกิน ๕๐ มิลลิลิตร ต้องใส่วัสดุกันแตกระหว่างภาชนะชั้นที่สอง และชั้นนอกสุดโดยรอบ ในกรณีที่ต้องการรักษาคุณภาพของเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์บางชนิดให้เก็บ ในสภาวะที่มีอุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส
(ค) ภาชนะชั้นนอกสุดเป็นหีบห่อบรรจุทําด้วยกระดาษแข็ง ไม้ หรือวัสดุอื่นที่ มีความคงทนต่อการกระทบกระเทือน ด้านนอกติดฉลากแสดงชื่อ และชื่อทางวิทยาศาสตร์ของ เชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ที่ใช้ในภาษาอังกฤษ ปริมาณที่บรรจุ วัน เดือน ปีที่ผลิต สถานที่ผลิต คําว่า “เชื้ออันตราย” หรือ “สารอันตราย” และชื่อและที่อยู่ของผู้ที่จะติดต่อได้ในกรณีที่ภาชนะบรรจุนั้น แตกหรือเสียหายในระหว่างการขนส่ง
(๔) ระบุเลขที่ของใบอนุญาตนําผ่านไว้ที่หีบห่อของภาชนะที่บรรจุเชื้อโรคและพิษ จากสัตว์ที่นําผ่าน
(๕) จัดทําบัญชีรายเดือนแสดงการนําผ่านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ตามแบบที่อธิบดี กําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และเก็บบัญชีดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ครอบครองหรือสถานที่ เก็บเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่นําผ่านเพื่อการตรวจสอบ
ให้ผู้รับใบอนุญาตดําเนินการตาม (๒) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกําหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
- ข้อ ๑๙
ในกรณีที่มีข้อมูลใดเปลี่ยนแปลงไปจากรายการในใบอนุญาต หรือในกรณีที่ ผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต ให้ยื่นคําขอต่ออธิบดีพร้อมด้วยเอกสารหรือ หลักฐานประกอบการเปลี่ยนแปลงรายการตามที่ระบุไว้ในแบบคําขอเปลี่ยนแปลงรายการ
ให้นําความในส่วนที่ ๑ มาใช้บังคับกับการรับคําขอ การพิจารณาคําขอและการมี คําสั่งเกี่ยวกับคําขอตามความในข้อนี้ด้วยโดยอนุโลม
- ข้อ ๒๐
ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตประสงค์ย้ายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่นําเข้า สถานที่ส่งออก สถานที่ขาย หรือสถานที่มีไว้ในครอบครองให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคําขอย้ายหรือ เปลี่ยนแปลงสถานที่ดังกล่าวหนังสือพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับสถานที่ พร้อมทั้งอุปกรณ์ และวิธีความปลอดภัยตามที่ระบุในคําขอเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมต่ออธิบดีเพื่อพิจารณา
ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นเร่งด่วนอันไม่อาจดําเนินการยื่นคําขอตามวรรคหนึ่งได้ ให้ดําเนินการย้ายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ดังกล่าวเป็นการชั่วคราวได้และแจ้งให้อธิบดีทราบโดยเร็ว ทั้งนี้ ต้องดําเนินการตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่อธิบดีกําหนด
- ข้อ ๒๑
ในกรณีที่เชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์มีระดับความรุนแรงสูงขึ้นกว่าระดับที่ ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๑๙ หรือระดับที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งให้อธิบดีทราบ โดยเร็ว พร้อมด้วยเอกสาร หลักฐานหรือข้อมูลอื่นใด เพื่อแสดงให้เห็นระดับความรุนแรงของเชื้อโรค หรือพิษจากสัตว์ และความปลอดภัยและอันตรายต่อบุคคล สิ่งแวดล้อมหรือสาธารณชน
- ข้อ ๒๒
ผู้รับใบอนุญาตผลิต ครอบครอง ขาย นําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านเชื้อโรค และพิษจากสัตว์ผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคําขอต่ออายุใบอนุญาตต่ออธิบดีภายใน เก้าสิบวันก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคําขอต่ออายุ ใบอนุญาตที่อธิบดีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต อธิบดีจะแสดงการต่ออายุใบอนุญาตไว้ใน รายการต่ออายุใบอนุญาตนั้น หรือจะออกใบอนุญาตให้ใหม่ก็ได้
- ข้อ ๒๓
ให้นําความในข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ (๓) ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๔ และข้อ ๑๗ มาใช้บังคับกับการพิจารณาคําขอต่ออายุใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาตผลิต ครอบครอง ขาย นําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ด้วยโดยอนุโลม
- ข้อ ๒๔
ในกรณีที่ใบอนุญาตผลิต ครอบครอง ขาย นําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านเชื้อ โรคและพิษจากสัตว์สูญหาย ถูกทําลาย หรือชํารุดในสาระสําคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตนั้นยื่นคําขอรับ ใบแทนใบอนุญาตต่ออธิบดีพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคําขอรับใบแทน ใบอนุญาตที่อธิบดีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้อธิบดีออกใบแทนใบอนุญาต โดยใช้แบบใบอนุญาตเดิม และให้ระบุคําว่า “ใบแทน” ไว้ที่ด้านหน้าด้วย
- ข้อ ๒๕
การยื่นคําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต และคําขอรับใบแทน ใบอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ ให้ยื่น ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
- ข้อ ๒๖
ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะแจ้งเลิกการผลิตนําเข้า ส่งออก ขาย นําผ่าน หรือมีไว้ครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ให้แจ้งเป็นหนังสือให้อธิบดีทราบล่วงหน้า ๑๕ วัน ก่อนการเลิกดําเนินการ และให้ใบอนุญาตนั้นสิ้นอายุตามระยะเวลาที่กําหนดในหนังสือแจ้งนั้น
ในระหว่างที่ใบอนุญาตยังไม่สิ้นอายุ ผู้รับใบอนุญาตต้องดําเนินการจัดให้มีสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการผลิต นําเข้า ส่งออก ขาย นําผ่าน หรือมีไว้ครอบครองเชื้อโรคและ พิษจากสัตว์ บุคคลผู้ควบคุมการผลิต นําเข้า ส่งออก ขาย นําผ่าน หรือมีไว้ครอบครองเชื้อโรค และพิษจากสัตว์ และวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามที่กําหนดไว้ในใบอนุญาตตลอดระยะเวลา
- ข้อ ๒๗
คําขออนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต หรือคําขอรับใบแทนใบอนุญาต ผลิต ครอบครอง ขาย นําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่ กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของอธิบดี ให้ถือว่าเป็นคําขอรับใบอนุญาต คําขอต่ออายุใบอนุญาต หรือคําขอรับใบแทนใบอนุญาตที่ยื่นตามกฎกระทรวงนี้
- ข้อ ๒๘
ใบอนุญาตผลิต ครอบครอง ขาย นําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านซึ่งเชื้อโรค และพิษจากสัตว์ที่ออกไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีผลบังคับต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุ
|