กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
กรุณากรอกข้อมูลพื้นฐานเพื่อประโยชน์และจัดทำรายงานสำหรับการรับฟังความคิดเห็น |
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดให้มีจำนวนเงินรายได้สูงสุดของกองทุนและให้นำเงินส่วนที่เกินส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินเพื่อนำไปใช้ในการสนับสนุน รณรงค์ และชี้ชวนให้ประชาชนสร้างเสริมสุขภาพ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจปรับเพิ่มรายได้สูงสุดของกองทุนตามอัตราเงินเฟ้อทุกสองปี (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๑)
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมให้กองทุนมีอำนาจจ่ายเงินสำหรับการดำเนินงานของกองทุนและการทำกิจกรรมตามมาตรา ๕ และมาตรา ๙ และให้คณะกรรมการโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับการจ่ายเงินดังกล่าว (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๖)
(๓) แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการ โดยปรับลดจำนวนของคณะกรรมการ และแก้ไขให้หัวหน้าส่วนราชการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง รวมทั้งเพิ่มเติมคุณวุฒิของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๗)
(๔) แก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องการมีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับกองทุนหรือกิจการที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐและไม่มีประโยชน์ส่วนตัว (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๘ (๗))
(๕) กำหนดให้คณะกรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ และห้ามมิให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๙)
(๖) แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ โดยให้มีอำนาจกำหนดนโยบายการบริหารงานและให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานประจำปีของกองทุน และให้ออกระเบียบหรือข้อบังคับในเรื่องการบริหารและจัดการการเงิน การบัญชี การพัสดุ และทรัพย์สินของกองทุนให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการบริหารทุนหมุนเวียน และออกระเบียบหรือข้อบังคับในเรื่องมาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างของกองทุน รวมทั้งให้มีอำนาจแต่งตั้งที่ปรึกษาโดยไม่จำกัดเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิเท่านั้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๓)
(๗) กำหนดให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุนที่ออกจากไปแล้วไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน (เพิ่มเติมมาตรา ๓๒/๑)
(๘) แก้ไขเพิ่มเติมให้การบัญชีของกองทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดและสอดคล้องกับหลักสากล (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๓๓)
(๙) แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประเมินผลให้มีอำนาจประเมินผลนโยบายและแผนการดำเนินงานประจำปีโดยครอบคลุมด้านต่างๆ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๓๘ (๑) และ (๒))
ตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ในฐานะผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ในการแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔
ให้เกิดความยั่งยืน โดยมีผลบังคับใช้ให้ทันก่อนการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ได้หารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมทั้งผู้แทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง พิจารณาและมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แล้ว และให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอน
การเสนอกฎหมายต่อไป
เพื่อให้พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน สมควรกำหนดให้กองทุนมีจำนวนเงินรายได้สูงสุดในระดับที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ และใช้จ่ายเงินดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยให้มีความสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียน และเพื่อให้องค์ประกอบ คุณสมบัติ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมีความเหมาะสมและป้องกันมิให้เกิดการมีส่วนได้เสีย รวมทั้งได้แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประเมินผลเพื่อให้ชัดเจนและครอบคลุมยิ่งขึ้น และเพิ่มเติมให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของกองทุนที่ออกจากกองทุนไปแล้วได้ เพื่อป้องกัน
และปราบปรามการทุจริต จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ท่านสามารถแสดงความคิดเห็นทางลิงค์เว็บไซต์ https://goo.gl/forms/ASwsYGkc5m6Cl3Ax2 (ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2561)
|